วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1 มี 5 ข้อ

1.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมรูป
1.1ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ









1.2เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมากเมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีบริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัดปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลงขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม








1.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่งมินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมี บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่อง Unisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NEC ของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัท Siemens-Nixdorf เครื่อง NCR ของบริษัท NCR ฯลฯ
1.4 เวิร์คสเตชัน (Workstation) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่นคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือเวิร์คสเตชั่น ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีความสามารถในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกรา ฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (supermicro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง










1.5 ไมโครคอมพิวเตอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 และได้รับความนิยมอย่างเมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมี 2 ชนิดคือ Apple Macintosh และ IBM PCในปัจจุบัน ความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างเครื่องเวิร์คสเตชั่นและเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพของเครื่องและความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเครื่องเวิร์คสเตชั่นจำนวนมาก






2.คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร

คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร


ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลเป็นหลัก จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูลอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อมูลเป็นหัวใจของการดำเนินงานเป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ บริษัทหรือองค์การจึงดำเนินการอย่างจริงจังให้ได้มาซึ่งข้อมูล และปกป้องดูแลข้อมูลของตนเป็นอย่างดี เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่ามีราคา การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฎเป็นข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศaaaaaข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการเทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีaaaaaกรรมวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้นผู้ดำเนินการจะต้องให้ความสำคัญที่จุดนี้โดยเฉพาะความรวดเร็ว ความรวดเร็วของการเก็บข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ (scaner) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง (barcode)2.2ข้อมูลสารสนเทศaจากที่กล่าวมาแล้วว่า ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำaสำหรับ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจการจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล


4.VLSI คืออะไร สำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร

ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 1 (1945 - 1958) -ใช้หลอดสูญญากาศ ความต้านทาน Capacitor และ สวิทช์ ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์ใช้คำนวณค่าในตารางการยิงปืนใหญ่ ใช้ภาษาเครื่องจักร ใช้กำลังไฟฟ้ามาก ยุคที่ 2 (1958 - 1964) - ใช้ Transistor เป็นวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาระดับสูง มีการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบFloating point ยุคที่ 3 (1964 - 1974) -เริ่มใช้วงจรรวม ( Integrated circuit) มีหน่วยความจำเป็นแบบ Semi conductor ขนาดของคอมพิวเตอร ์จึงมีขนาดเล็กลง ยุคที่ 4 (1974 - ปัจจุบัน) - ใช้เทคโนโลยี VLSI ประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ในยุคนี้ขนาดของคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงมาก ยุคที่ 5 (ปัจจุบัน - ????) - VLSI,ULSI ,Parallel System , Intelligence คาดว่าในยุคนี้จะเป็นยุคของปัญญาประดิษฐ์ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบขนานกันไป มีความเร็วในการประมวลผลสูงมากยุคที่ 5 VLSIความหมายย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra largscaleintegraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสมนอกจากการพัฒนาในระบบฮาร์ดแวร์แล้ว ในยุคนี้ ยังมีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปของกราฟิกที่เรียกว่าจียูไอ (Graphic User Interface : GUI) แทนการติดต่อแบบรายคำสั่ง (command line interface)ที่เป็นการพิมพ์คำสั่งทีละคำสั่งเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานเช่นในอดีต ปัจจุบันเริ่มมีการใช้เมาส์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ และยังมีการพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จช่วยงานจำนวนมาก ทั้งที่เป็นงานสำนักงานทั่วไปและงานเฉพาะทาง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็จะมีการติดต่อกับผู้ใช้แบบจียูไอ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในยุคนี้


5. นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง

5.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เราเรียน5.2 ฟังเพลง อัพเดตข้อมูลข่าวสารใหม่ๆที่เราอยากรู้5.3 ติดต่อพูดคุยกับเพื่อนที่อยู่ในสถานที่ไกลๆ5.4 ใช่ข้อมูลด่วนให้กับเพื่อน อาจารย์ เช่นการส่งการบ้านอาจารย์ทางอินเตอร์เน็ต ก็จะได้ส่งทันเวลา5.5.ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการโลก

ที่มา http://www.kanmuang.org/ntnews/data/7/0087-1.htmlวันที่ 28 /06/51

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เปิดตัวโปรแกรมทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเปิดตัวโปรแกรมทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์ ICDL หรือชื่อเต็มว่า International Computer Driving Licence โดยได้รับเกรียติจาก ท่านเอกอัคราชฑูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ฯณฯ เดวิดฟอล, ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้ช่วยประธาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ศาสตราจารย์ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดงานICDL ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยโดย ความร่วมมือกันของ บริษัท สปริงบอร์ดโฟร์เอเชีย จำกัด และ สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ( ITIE ) เนื้อหาของการสอบ ICDL จะคลอบคลุมการใช้งานหลักต่างๆของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ต่างๆในการใช้งานจริงในสำนักงานและทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อหาใน 7หัวข้อหลัก อันได้แก่ ความรู้พื้นฐานทาง IT, การใช้คอมพิวเตอร์และจัดการแฟ้มข้อมูล, Word Processing, Spreadsheets, Databases, โปรแกรมการนำเสนอ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารและหาข้อมูล ในขณะที่การอบรมและทดสอบส่วนใหญ่ในเอเชีย จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ทางบริษัท สปริงบอร์ดโฟร์เอเชีย จำกัด ได้รับเงินสนับสนุนในการแปล ICDL ให้เป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในประเทศไทย ซึ่งได้ทำการเปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมามิสเตอร์ คอลลิน กลาส, CEO ของบริษัท สปริงบอร์ดโฟร์เอเชีย จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ โปรแกรม ICDL ได้รับการเผยแพร่และยอมรับมาแล้วมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ใน 46 ภาษา มีการจัดสอบเกิดขึ้นแล้วมากกว่า 30 ล้านครั้ง ผู้ที่ผ่านการสอบแล้วจะได้รับการรับรองถึงการมีทักษะและความสามารถในการใช้ดอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการใด้งานทำ ขณะเดียวกัน ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ได้กล่าวขอบคุณ บริษัท สปริงบอร์ดโฟร์เอเชีย จำกัด ในความพยายามที่จะช่วยในการส่งเสริมการพัฒนา ความสามารถในการใช้ ITของประชากรไทย และทางด้านศาสตราจารย์ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ ก็ได้กล่าวไว้ในตอนเปิดงานว่าขณะนี้เรากำลังต้องการกำลังคนที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง นี่เป็นจุดสำคัญที่ต้องเน้นในการพัฒนาคนในสังคม IT ซึ่ง ICDL จะมีบทบาทอย่างมากในหน้าที่นี้ บริษัทในระดับโลกที่ให้การยอมรับและใช้ ICDL ในฝ่ายพัฒนาบุคลากรของตน ได้แก่ Microsoft, IBM, Shell, BMW, Ericsson, HSBC และอีกกว่า 250 บริษัททั่วโลก
บริษัท สปริงบอร์ดโฟร์เอเชีย จำกัด คาดไว้ว่าจะได้ทำการเผยแพร่ ICDLเข้าสู่ บริษัทต่างๆ 1000 แห่ง และ มีผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบ ICDL จำนวน 20,000 คนภายในสิ้นปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการสนองนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน และ สถาบันการศึกษาใดที่สนใจหรืออยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ICDL

ที่มา:http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=406618&mypage=4&news_cat=&g2=2&ofsm=6&ofsy=2008

โดย eWEEK

ค่ายคอมพ์ดันโน้ตบุ๊ค 1.2 หมื่นลุย "แมส"


นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ครึ่งปีหลังจะมีการขยายฐานผู้ใช้กลุ่มโลว์คอสท์ โน้ตบุ๊ค ออกมาทำตลาดในวงกว้างโดยเฉพาะอินเตอร์แบรนด์ ด้วยระดับราคา 350-400 ดอลลาร์ ที่มาพร้อมหน้าจอขนาด 7 นิ้ว มีหน่วยความจำ 4-8 กิกะไบต์ โดยจะเป็นเครื่องที่ใช้วงกว้าง ไม่จำกัดเฉพาะตลาดการศึกษาทั้งนี้ บริษัทได้ออกแบบตัวประมวลผลใหม่ ด้วยการผลิตเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร ทำให้ต้นทุนต่ำลง กินไฟน้อยลง สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สาย สนองตอบการใช้งานเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ใช้งานเครื่องครั้งแรกที่จะทำงาน 1-2 แอพพลิเคชั่นในเวลาเดียวกัน และเน้นการเรียกดูข้อมูล มากกว่าการสร้างข้อมูล นอกจากนี้ โน้ตบุ๊ครุ่นดังกล่าว อาจเป็นการใช้งานเครื่องที่ 2 สำหรับผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่บ้านเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ก็นำโน้ตบุ๊คราคาประหยัด ไปเชื่อมต่อใช้งานร่วมแบบไวร์เลสแลน นายเอกรัศมิ์กล่าวว่า ส่วนแนวคิดของรัฐที่จะทำราคาคอมพิวเตอร์ 3,000 บาท มองว่าควรเปิดโอกาสให้ธุรกิจในประเทศ ทั้งอินเตอร์แบรนด์และโลคอลแบรนด์ เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ มากกว่าการสั่งตรงกับต่างประเทศ ด้านนายแฮรี่ หยาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ไตรมาส 2 จะส่งเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คราคาประหยัดที่ทำงานเต็มรูปแบบ แต่มีราคาระดับเดียวกับอีอีอี พีซี ของอัสซุส ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 7 นิ้ว แต่เล็กกว่าโน้ตบุ๊คปัจจุบัน โดยจับตลาดผู้ใช้โรงเรียนและผู้ใช้งานเครื่องแรก ขณะที่ นายประเสริฐ จรูญไพศาล ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มเพอร์ซันนัล ซิสเต็ม กรุ๊ป บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด หรือเอชพี กล่าวว่า บริษัทมีแผนวางตลาดโน้ตบุ๊คที่มีหน้าจอขนาดเล็กต่ำกว่า 12 นิ้ว แต่ใหญ่กว่า 7 นิ้วมาจับกลุ่มผู้ต้องเดินทางบ่อยๆรวมทั้ง ปีนี้บริษัทเสนอสินค้าที่มีรูปทรงหลากหลาย เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ใหม่ๆ ซึ่งที่ผ่านมา นำเสนอโน้ตบุ๊คขนาด 20 นิ้ว และเร็วๆ ก็จะเจาะกลุ่มผู้ใช้เครื่องขนาดเล็กมีน้ำหนักเบา โดยมีคุณสมบัติของเครื่องที่เป็นโน้ตบุ๊คจริงๆ (ฟูลฟังก์ชัน โน้ตบุ๊ค) มีระดับราคา 350-400 ดอลลาร์ นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ครึ่งปีหลัง เชื่อว่าจะมีสินค้าหลายยี่ห้อมาเป็นคู่แข่งในตลาดกับกลุ่มผู้ใช้ "อีอีอี พีซี" ที่บริษัทพัฒนาออกมารายแรกด้วยราคา 11,900 บาท และได้รับการตอบรับกว่า 15,000 เครื่องแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการโน้ตบุ๊คเครื่องที่ 2 และนักศึกษาที่นำไปใช้เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก


ที่มา:http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=407189&mypage=2&news_cat=&g2=2&ofsm=6&ofsy=2008

โดย NOL-News Online : กรุงเทพธุรกิจ

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงาน

รายงานวิทยาการคอมพิวเตอร์